การเลือกปัญหาสำหรับการวิจัยนับเป็นเรื่องยากสำหรับนักวิจัยใหม่ ๆ
เพราะไม่ทราบว่าจะทำการวิจัยเรื่องอะไรดี
หรือจะค้นคว้าหาเรื่องวิจัยได้จากที่ใด
ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีปรึกษาหารือหรือซักถามจากผู้รู้
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ปัญหาการวิจัยไม่ได้มาจากผู้รู้เท่านั้น
นักวิจัยอาจหาได้จากแหล่งอื่น ๆ ดังนี้
1.
วิเคราะห์ผลงานการวิจัยของคนอื่น ๆ
ในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาที่เราสนใจและกำลังศึกษาอยู่
พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อหาส่วนที่ยังไม่
กระจ่างหรือยังไม่เข้าใจ หรือหาคำตอบยังไม่ได้ ก็จะได้ปัญหาสำหรับการวิจัย
หรืออาจจะได้ข้อคิดในการตั้งหัวข้อการวิจัยจากข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อของ
ผลงานวิจัยที่เราศึกษาก็ได้
2. คำพูด ข้อเสนอแนะ ข้อคิด ของผู้รู้ต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ถกเถียงหรือเป็นข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบด้วยวิธีการวิจัย
3. วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา และความก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ
อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น และอาจนำปัญหานั้นมาตั้งเป็นหัวข้อวิจัยได้
4. สนทนาหรือปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ แล้วนำปัญหานั้นมาตั้งเป็นหัวข้อการวิจัย
5. อาศัยสถาบันหรือหน่วยงานที่มีการวิจัย ตลอดจนบุคลากรที่ทำการวิจัยเพื่อจะได้ข้อคิดหรือปัญหาที่จะทำการวิจัยต่อไป
6. จากปัญหาต่าง ๆ ทั้งของผู้อื่นและที่ประสบด้วยตนเอง ทำให้ต้องค้นหาวิธีการที่จะแก้ปัญหานั้น โดยนำปัญหามาตั้งเป็นหัวข้อวิจัย
การตั้งชื่อเรื่องวิจัย
ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้
วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน
เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม
ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง
หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด
แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา
เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที
อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง
และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็น
จริง
3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ
หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น
การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน
หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้
มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น
การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล
ของจังหวัดมหาสารคาม
3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า
การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น
ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า
การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการนำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น
การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
3.5 การวิจัยเชิงทดลอง
การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของ
การทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา
การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรืออาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น
การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง
การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสาร
ละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ
การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ
การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ
การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม
ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น
แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ
ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ
การสำรวจ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ไม่ดี : ศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ดีขึ้น : การศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ไม่ดี : เปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
ดีขึ้น : การเปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์
คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร
และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติ
ต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรี-� นครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1
ปีการศึกษา 2544
อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้น ๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของ������ นักศึกษาครู เป็นต้น
ข้อควรระวังในการเลือกปัญหาสำหรับการวิจัย
ได้กล่าวแล้วว่า การเลือกปัญหาในการวิจัยนับเป็นสิ่งสำคัญมาก
เพราะหากเลือกโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ แล้ว
ก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำวิจัยจนถึงกับต้องล้มเลิกไปก็ได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดดังกล่าว
จึงขอเสนอข้อควรระวังในการเลือกปัญหาสำหรับวิจัยไว้ดังนี้
1.
อย่ารวบรวมข้อมูลก่อนที่จะให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจนเสียก่อน
เพราะข้อมูลที่รวบรวมไว้อาจไม่ครอบคลุมปัญหานั้นอย่างสมบูรณ์ก็ได้
2. อย่ากำหนดปัญหาสำหรับวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
โดยพยายามตั้งปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะ
ข้อมูลที่มีอยู่แล้วอาจไม่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนที่จะใช้ทำวิจัยในปัญหานั้น ๆ
ก็ได้
3. หัวข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน
ชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้จะทำให้การกำหนดแหล่งของข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคลาดเคลื่อน
เป็นเหตุให้การสรุปผลผิดพลาดได้
4. ตั้งปัญหาสำหรับวิจัยโดยไม่อ่านผลงานวิจัยของคนอื่นที่คล้าย ๆ กัน
ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ไม่กว้างขวาง��� ลึกซึ้งในปัญหานั้น
และอาจเกิดความยุ่งยากในการแปลความหมายข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
5. ผู้วิจัยทำการวิจัยโดยไม่มีความรู้ในสาขาวิชานั้น
หรือไม่มีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีของเรื่องที่ทำวิจัยย่อมจะทำให้เกิดปัญหา
ต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น การวางแผนการวิจัย การตั้งสมมติฐาน ฯลฯ เป็นต้น
6. มีข้อตกลงเบื้องต้นของปัญหาการวิจัยไม่ชัดเจนและไม่น่าเชื่อถือ
ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัด
อาจเป็นเหตุให้การแปลผลการวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้
7. การวิจัยที่มีหัวข้อปัญหากว้างมากเกินไป ไม่จำกัดขอบเขตจะเป็นเหตุให้การทำวิจัยนั้นไม่จบสิ้น เพราะไม่ทราบว่ามีขอบเขตแค่ไหน
การเขียนคำจำกัดความของปัญหา
การเขียนคำจำกัดความของปัญหานั้นเป็นการกำหนดขอบข่ายของเรื่องที่ทำ
วิจัยให้ชัดเจนขึ้น
อันจะทำให้ผู้วิจัยมองเห็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
เช่น แนวทางในการสร้างเครื่องมือ การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
และยังทำให้ผู้วิจัยสามารถประมาณค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย
เพื่อจะได้วางแผนหรือเตรียมการไว้ล่วงหน้าได้อีกด้วย
การเขียนคำจำกัดความของปัญหาจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. คำนำหรือภูมิหลัง อาจใช้คำว่า
หลักการและเหตุผลหรือที่มาของปัญหาก็ได้ เพราะมีความหมายเหมือนกัน
การเขียนคำนำหรือภูมิหลังเป็นการชี้ให้เห็นถึงต้นตอของปัญหา
ว่าปัญหานั้นคืออะไร มีจุดเริ่มต้นหรือแหล่งกำเนิดมาจากอะไร
ซึ่งผู้วิจัยควรอ้างทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องด้วย
อาจสอดแทรกผลงานวิจัยบางเรื่องที่เด่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องโดยตรงลงไปในตอนท้ายของคำนำ
โดยมากมักนิยมบอกเหตุผลหรือแรงจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจทำการวิจัยเรื่องนั้น
ด้วย การเขียนคำนำที่ดีมีควรลักษณะดังนี้
1.1 ต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาอย่างชัดเจน
1.2 ต้องบอกเหตุผลที่ทำการวิจัยอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยปราศจากข้ออคติส่วนตัวของผู้วิจัย
1.3
ต้องชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญหาพร้อมทั้งประโยชน์ที่สำคัญที่จะได้รับจาก
การวิจัยนั้น โดยอาจ����� สอดแทรกผลงานวิจัยหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ
ของบุคคลที่มีชื่อเสียงลงไปด้วย เพื่อให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
1.4 ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง กะทัดรัดได้ใจความและตรงจุด มีลักษณะการบรรยายที่สละสลวยและพยายามเรียงลำดับความคิดให้ต่อเนื่องกัน
1.5 ข้อความที่เขียนต้องมีลักษณะเป็นการวิเคราะห์ แยกแยะปัญหาอย่างมีเหตุผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหาชัดเจนขึ้น
2. ความมุ่งหมายของการวิจัย
เนื่องจากปัญหาวิจัยเป็นปัญหาใหม่หรือปัญหารวม
การเขียนความมุ่งหมายของการวิจัยจึงเป็นการนำเอาปัญหาวิจัยนั้นมาแยกออกเป็น
ปัญหาย่อย ๆ
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์
ข้อมูลนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้นักวิจัยบางท่านจึงเรียกความมุ่งหมายของการวิจัยว่า
เป็นปัญหาของการวิจัยก็ได้
การเขียนความมุ่งหมายของการวิจัยมักจะบอกให้ทราบถึงตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง
และลักษณะของการศึกษาวิจัย
ซึ่งผู้วิจัยจะเขียนไว้ในความมุ่งหมายของการวิจัยว่าเป็นการศึกษาปัญหาที่มี
ตัวแปรเป็นอะไร กลุ่มตัวอย่างคืออะไร และศึกษาในลักษณะใด
คือเป็นการศึกษาแบบการสำรวจ การทดลอง การหาความสัมพันธ์ การเปรียบเทียบ
หรือการศึกษาพัฒนาการ ฯลฯ
เนื่องจากความมุ่งหมายของการวิจัยเป็นการนำเอาปัญหาวิจัยมาแยกแยะออกเป็น
ปัญหาย่อย ๆ ดังนั้น จึงมีหลักเกณฑ์การเขียนคล้าย ๆ
กับการเขียนชื่อปัญหาในการวิจัย กล่าวคือจะเขียนเป็นประโยคคำถาม
หรือประโยคบอกเล่าธรรมดาก็ได้ และสามารถตั้งสมมติฐานได้ ทดสอบได้
นอกจากนี้ผู้วิจัยต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย
พยายามหลีกเลี่ยงคำซ้ำซ้อน เช่น คำว่า “เพื่อศึกษา”
ผู้วิจัยอาจเขียนไว้เป็นส่วนบนก่อน โดยเขียนว่า
การศึกษาครั้งนี้ต้องการศึกษาว่า
1. ครูที่มีวุฒิสูงสอนเด็กให้เรียนรู้ได้ดีกว่าครูที่มีวุฒิต่ำหรือไม่
2. คนที่มีอายุสูงขึ้นไปจะมีความจำเสื่อมลงหรือไม่
3. การให้ความรักหรือการควบคุมในระดับที่ต่างกัน จะมีผลต่อความเอื้อเฟื้อของเด็กหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเขียนความมุ่งหมายในการวิจัยทั่ว ๆ ไป เช่น
1. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความถนัดทางสติปัญญาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. เพื่อศึกษาว่าเชาวน์ปัญญามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพียงใด
4. เพื่อต้องการทราบว่านักเรียนที่นับถือศาสนาต่างกัน มีเจตคติต่อวัฒนธรรมไทยแตกต่างกันหรือไม่
5. เพื่อสำรวจชนิดของปรสิต โดยการตรวจอุจจาระของประชาชนในแหล่งสลัย ปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
3. ความสำคัญของการวิจัย การทำวิจัยเรื่องใด ๆ ก็ตาม
ผู้วิจัยต้องพิจารณาถึงคุณค่าของผลงานวิจัยที่จะได้รับ
และจะต้องเขียนให้ผู้อ่านได้เห็นความสำคัญของการวิจัยนั้นด้วย
เป็นการเขียนโดยการคาดคะเนผลที่จะได้รับจากการทำวิจัยว่ามีอะไรบ้างนั่นเอง
การคาดคะเนนี้อาจมองในแง่ของความรู้ที่ได้รับ
และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
ทั้งนี้เพื่อเน้นให้ผู้อ่านมองเห็นความสำคัญของการทำวิจัยเรื่องนั้นอย่าง
ชัดเจน
อนึ่งการเขียนความสำคัญของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องไม่เขียนเกินความเป็นจริง
และต้องเขียนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย เช่น
ความมุ่งหมายของการวิจัยกล่าวไว้ว่า
1. เพื่อวิเคราะห์หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
แต่ละเล่มว่าเรียบเรียงขึ้นตรงตามความมุ่งหมายของการสอนวิทยาศาสตร์มากน้อย
เพียงใด
2. เพื่อวิเคราะห์การวัดผลของผู้แต่งหนังสือเรียน ว่าตรงตามความมุ่งหมายของการสอนวิทยาศาสตร์มากน้อยเพียงใด
จากความมุ่งหมายดังกล่าว อาจเขียนความสำคัญของการวิจัยได้ดังนี้
1. เพื่อให้ครูวิทยาศาสตร์และผู้บริหารโรงเรียน ได้ใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้หนังสือเรียนได้อย่างเหมาะสม
2. เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้แต่งในการเขียนและปรับปรุงหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกหนังสือเรียน
และอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียน
นำไปใช้เป็นเกณฑ์เลือกหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน
4. ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา
เพราะผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้อย่างครบถ้วน
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงพยายามจำกัดขอบเขตของการศึกษาว่าจะศึกษาในเรื่องใด
ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด
ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้
การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้น ตามปกติจะกำหนดในเรื่องของประชากร
กลุ่มตัวอย่างและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การเขียนขอบเขตของการวิจัย
ผู้วิจัยอาจจะเขียนแยกเป็นหัวข้อกลุ่มตัวอย่างและตัวแปร
หรือเป็นข้อความรวม ๆ หรืออาจเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ ก็ได้
แต่การเขียนแยกเป็นหัวข้อกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรเป็นที่นิยมเขียนกันมาก
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเขียนขอบเขตการวิจัยแบบแยกหัวข้อกลุ่มตัวอย่างและ
ตัวแปร เช่น การวิจัยเรื่อง การศึกษาความมีน้ำใจของครู ความอยากรู้อยากเห็น
ความเอื้อเฟื้อ และเพทุบาย ของนักศึกษาปีที่ 1 - 4 วิทยาลัยครูนครปฐม
ได้จำกัดขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรไว้ดังนี้ (นิภา บุณยศรีสวัสดิ์.
2517.)
1. กลุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษาครั้งนี้กระทำกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4
ปีการศึกษา 2516 วิทยาลัยครูนครปฐม จำนวน 400 คน เป็นชาย 206 คน หญิง 194
คน และเนื่องจากการรับนักศึกษาเข้าเรียนในระดับชั้นปีที่ 1
มีจำนวนใกล้เคียงกันทุกปี ฉะนั้น นักศึกษาในปีที่ 1 - 4
จึงมีจำนวนใกล้เคียงกัน การสุ่มตัวอย่างจึงสุ่มมาระดับละ 100 คน เท่านั้น
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตอนหาความสัมพันธ์ มีตัวแปร 4 ตัว คือ
- ความมีน้ำใจของครู
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเอื้อเฟื้อ
- ความมีเพทุบาย
2.2 ตอนเปรียบเทียบ
ตัวแปรอิสระ
- เพศ (ชาย - หญิง)
- ระดับชั้นเรียน
ตัวแปรตาม
- ความมีน้ำใจของครู
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเอื้อเฟื้อ
- เพทุบาย
ตัวอย่างการเขียนขอบเขตของการวิจัย แบบเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ เช่น
1. ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นิสิตชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดมหาสารคาม
ในปีการศึกษา 2526 ซึ่งศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต ในวิชาเอก� ต่าง ๆ 14 วิชาเอก จำนวน 650 คน
2. การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในเขตจังหวัดขอนแก่น โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนมาเพียง 10 โรงเท่านั้น
3. การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะปรสิตที่สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจอุจจาระเท่านั้น
5. ข้อตกลงเบื้องต้น
เป็นข้อความที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านยอมรับโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจงานวิจัยนั้นอย่างไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ
นอกจากนี้ข้อตกลงเบื้องต้นยังมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในแง่ของการเลือกใช้
สถิติอีกด้วย
การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นอาจเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับตัวแปร การจัดกระทำข้อมูล
วิธีวิจัยและกลุ่มตัวอย่างก็ได้
ที่ผู้วิจัยต้องการจะตกลงกับผู้อ่านหรือเป็นข้อตกลงในการทำวิจัยเรื่องนั้น
ต่อไปนี้เป็นการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวแปร การจัดกระทำข้อมูล
วิธีวิจัย และ กลุ่มตัวอย่าง ตามลำดับ
1. การวิจัยครั้งนี้ถือว่า ความแตกต่างในเรื่องเพศ อายุ เชื้อชาติ
ฐานะทางเศรษฐกิจตลอดจนอาชีพของบิดา มารดดา ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการเรียน
2. การวิจัยครั้งนี้ถือว่า การแจกแจงของข้อมูลมีลักษณะเป็นโค้งปกติ (Normal
distribution) จึงสามารถนำวิธีการทางสถิติแบบพาราเมตริก (Parametric
statistic) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้
3.
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้อาจารย์ผู้สอนแจกแบบสอบถามแล้วส่งคืนในวันเดียว
กันกับการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยขอเวลาในชั่วโมงสอนของอาจารย์แล้วควบ
คุมให้นักเรียนตอบในชั่วโมงนั้น ถือว่าได้ผลเช่นเดียวกัน
4. นักเรียนทุกคนที่ทำแบบทดสอบแต่ละฉบับ
มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการตอบและการตรวจให้คะแนนในแต่ละวิธีที่ถูกกำหนด
ให้แล้วเป็นอย่างดี
6. คำนิยามศัพท์เฉพาะ ในการวิจัยทั่ว ๆ
ไปมักจะต้องให้ความหมายของคำบางคำที่ใช้ในรายงานการวิจัยให้เฉพาะเจาะจ